วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ฉบับย่อ บทที่ 1 สังคมของเรา


1. โครงสร้างทางสังคม
คือ ความสัมพันธ์กับบุคคลจำนวนหนึ่งที่ปฎิบัติร่วมกัน แบ่งได้ 2 ประเภท

1. กลุ่มปฐมภูมิ มีสมาชิกน้อย แต่สนิทใกล้ชิดกัน เช่น เพื่อน  ครอบครัว
2. กลุ่มทุติยภูมิ รู้กันกันเพียงเเบบทางการ ตามหน้าที่ เช่น โรงเรียน บริษัท กระทรวง

1.1 การจัดระเบียบของสังคม
คือ กระบวนการที่จัดเพื่อคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กัน ภายใต้แผนและกฎเดียวกัน

   1) องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
            1. บรรทัดฐานของสังคม 
                                คือ กฎเกณฑ์ในการปฏิบัติทางสังคมที่ทุกคนยอมรับ
                   o วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน คือ แบบปฎิบัติที่เป็นที่ยอมรับในสังคม ถ้าไม่ปฎิบัติจะถูกติเตียน นินทา เช่น การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
                   o จารีต คือ แบบปฎิบัติที่ต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัดในสังคม ถ้าไม่ปฎิบัติจะถูกลงโทษ หรือตำหนิอย่างรุนแรง เช่น การแสดงความก้าวร้าวต่อพ่อแม่
                   o กฎหมาย คือ ข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร  หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามกฎหมาย เช่น การฆาตรกรรม ข่มขืน ลักทรัพย์ สร้างไวรัส แฮกค์คอมพิวเตอร์ ทะเลาะวิวาท สร้างข่าวเท็จ
โฆษณาสินค้าเกินจริง ใช้รูปภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ๆลๆ

            2. สถานภาพ
                                คือ ตำแหน่งบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น ซึ่งช่วยกำหนดและจัดระเบียบสังคม แบ่งได้
2 ประเภท คือ
                    1. สถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เครือญาติ
                    2. สถานภาพที่ได้มาภายหลังโดยความสามารถ เช่น การศึกษา การสมรส การประกอบอาชีพ
            3. บทบาท
                                คือ สิ่งที่ต้องปฎิบัติตามสถานภาพที่เป็นอยู่
                    เช่น นายเกย์มีสถานภาพเป็นแม่ มีบทบาทในการเลี้ยงดูบุตร
            4. การควบคุมทางสังคม
                                คือ กระบวนการที่ให้สมาชิกยอมรับและปฎิบัติตาม ซึ่งมีวิธีต่างๆดังนี้
                    1. โดยการจูงใจให้สมาชิกปฎิบัติตาม เช่นการยกย่องชมเชย
                    2. โดยการลงโทษสมาชิกที่ฝ่าฝืนบรรทัดฐานสังคม โดยมี 3 ประเภทดังนี้
                   o วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน จะถูกติเตียน นินทา
                   o จารีต จะได้รับการต่อต้านจากสังคม

                   o กฎหมาย จะได้รับความผิดตามกฎหมาย

1.2 สถาบันทางสังคม
                                คือ แบบแผนในการคิด กระทำที่คนในสังคมยึดถือปฎิบัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม และกำหนดสถานภาพบทบาท เช่น สถาบันครอบครัว มีหน้าที่ให้กำเนิดชีวิตใหม่เป็นต้น
                    1. สถาบันครอบครัว
                           ลักษณะ
                              o เป็นสถาบันพื้นฐาน
                              o สัมพันธ์กันทางสมรส สายโลหิต การรับบุคคล
                              o ใกล้ชิดและมีอิทธิพลโดยตรงในการดัดนิสัย
                          หน้าที่
                              o สร้างสมาชิกใหม่เพื่อดำรงสังคม
                              o อบรมสมาชิกให้มีคุณภาพ
                    2. สถาบันการศึกษา
                           ลักษณะ
                              o รับช่วงต่อจากสถาบันครอบครัว
                              o เป้าหมายเพื่ออบรมสั่งสอนโดยเฉพาะ
                          หน้าที่
                              o พัฒนาบุคคล
                              o อบรมให้มีศีลธรรม
                          บทบาทสมาชิก
                           ผู้อำนวยการโรงเรียน   บริหารโรงเรียน
                           ครู                                สอนนักเรียน
                           นักเรียน                        เรียนให้ตายกันไปข้างหนึ่ง
                    3. สถาบันศาสนา
                           ลักษณะ
                              o ประกอบด้วยความเชื่อ ความศรัทธา
                              o มีพิธีกรรม หลักความเชื่อ หลักธรรมคำสอน และ สัญลักษณ์ทางศาสนา
                          หน้าที่
                              o อบรมศีลธรรม

                              o เป็นพื้นฐานสำคัญของอำนาจรัฐ
                          บทบาทสมาชิก
                           นักบวช             สอนให้เป็นคนดี
                           ศาสนิกชน        ปฎิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม
                    4. สถาบันการเมืองการปกครอง   
                           ลักษณะ
                              o เพื่อจัดระเบียบสังคม
                              o ประกอบด้วยกลุ่มหรือองค์กร
                          หน้าที่
                              o เพื่อคุ้มครองสมาชิก
                              o สร้างความยุติธรรม
                              o สร้างความสงบในสังคมโดยกฎหมาย
                          บทบาทสมาชิก
                              นายกรัฐมนตรี       ดูแลการทำงานของคณะรัฐมนตรีและข้าราชการ
                              สมาชิกสภาผู้แทนราชฎร   ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
                              ประชาชน      รักษาสิทธิเสรีภาพของตนเอง
                    5. สถาบันเศรษฐกิจ
                           ลักษณะ
                              o เพื่อสนองความต้องการด้านปัจจัย 4

                              o การบริการสิ่งอำนวยความสะดวก
                          หน้าที่
                              o จัดสรรและกระจายทรัพยาการ
                              o พัฒนาเศรษฐกิจ
                          บทบาทสมาชิก

                              ผู้จัดการ      บริหารและรับผิดชอบบริษัทห้างร้านให้ดีที่สุด

                              ชาวนาชาวไร่      ผลิตสินค้าการเกษตรเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
                              ผู้บริโภค      รักษาสิทธิตัวเอง
                    6. สถาบันสื่อมวลชน
                           หน้าที่
                              o ให้ข้อมูลข่าวสาร
                              o โน้มนำสังคมในด้านต่าง
                              o โฆษณา

2. การขัดเกลาทางสังคม
2.1 ความหมายของการขัดเกลา
กระบวนการที่ทำให้สมาชิกในสังคมได้เรียนรู้ ยอมรับค่านิยม กฎเกณฑ์ วัฒนธรรม และอื่นๆ ที่สังคมได้กำหนดไว้

2.2 จุดมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม
1) เพื่อให้รู้บทบาทต่างๆในสังคม การเรียนรู้บทบาทต่างๆ ของคนในสังคม
2) เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย
3) เพื่อปลูกฝังความเพียร
4) เพื่อฝึกทักษะ

2.3 วิธีการขัดเกลาทางสังคม
1) การขัดเกลาทางตรง คือการขัดเกลาจากการสอนโดยตรง
2) การขัดเกลาทางอ้อม คือการขัดเกลาจากการสังเกตรอบข้าง

2.4 ตัวแทนของการขัดเกลาทางสังคม
คือ ครอบครัว ที่มีบทบาทมากที่สุด ครูอาจารย์ ผู้คอยสั่งสอน และกลุ่มเพื่อน ที่มีอิทธิพลในวัยรุ่น

นอกจากนั้นก็คือ กลุ่มเพื่อนร่วมอาชีพ สื่อมวลชน และ กลุ่มทางศาสนา

3. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
3.1 ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
หมายถึง การที่สังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม

3.2 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยก่อนรัชกาลที่ 4 คนไทยมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย จนกระทั่งได้รับวัฒนธรรมตะวันตกในรัชกาลที่ 4 สังคมจึงเปลี่ยนแปลง

3.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

1) ปัจจัยภายใน
(1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
(2) การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร

2) ปัจจัยภายนอก
สังคมจะเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเมื่อ
(1)สังคมที่มีการสมาคมบ่อยครั้ง
(2)สังคมที่มีการแข่งขัน
(3)สังคมที่ส่งเสริมการยอมรับให้มีสิ่งใหม่ๆ

(4)ความต้องการรับรู้สิ่งใหม่ๆที่สูง
(5)เมื่อพื้นฐานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนไป

ขณะที่สังคมจะเปลี่ยนแปลงช้าลงเมื่อ
(1)สังคมที่อยู่โดดเดี่ยว
(2)สังคมที่มีแบบแผน
(3)สังคมที่ยึดมั่นขนบธรรมเนียมดั้งเดิม

(4)ความต้องการรับรู้สิ่งใหม่ๆที่ต่ำ
(5)เมื่อพื้นฐานทางวัฒนธรรมไม่เปลี่ยนแปลง

3.4 รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ทั้งเกิดจากธรรมชาติและฝีมือของมนุษย์โดยมี 2 รูปแบบดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง โดยจากสังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูง
2) การเปลี่ยนแปลงแบบวัฎจักร โดยสังคมจะมีจุดเริ่มต้น ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ และถึงจุดที่เสื่อมสลาย แล้ววนไปเริ่มต้นใหม่ ไม่มีความสม่ำเสมอ

3.5 อุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
1. การไม่เห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง
2. ความไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิม
3. หากกลุ่มรักษาผลประโยชน์คัดค้าน

3.6 ค่านิยมของสังคมไทย
คือ สิ่งที่มีคนสนใจปรารถนาที่จะเป็นเหมือนผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทุกคนถือปฎิบัติ

ค่านิยม 12 ประการ โดยคณะรักศาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู
4. ใฝ่หาความรู้ทั้งทางตรงและทาอ้อม
5. รักษวัฒนธรรมไทย
6. มีศีลธรรม หวังดีต่อผู้อื่น
7. เข้าใจเรียนรู้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
8 มีระเบียบวินัยเคารพกฎหมายเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฎิบัติตามพระราชดำรัส
10. รู้จักดำรงตน โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
11. มีความเข้มแข็งในจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
12. คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ตนเอง

4. การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาทางสังคม
4.1. ปัญหาสังคมไทย
หมายถึง สภาวการณ์ทางสังคมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นว่าไม่ดี
เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาสารเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4.2 แนวทางการพัฒนาทางสังคม
"จิตสาธารณะ" (Public Mind) คือ จิตที่คำนึงถึงผู้อื่น โดยแสดงออกมาผ่านการกระทำ
- เป็นบุคคลที่มีจิตอาสา นั่นคือ การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
- เป็นบุคคลที่มีจิตเอื้ออาทร คือเป็นผู้มีน้ำใจแก่ผู้อื่น
- เป็นบุคคลที่ไม่มีความคิดว่า ไม่ใช่เรื่องของฉัน

4.3 แนวทางการพัฒนาสังคมด้วยการมีจิตสาธารณะ
-การให้ "แรงกาย" โดยการช่วยเหลือธุระของผู้อื่น
-การให้ "ใจ" โดยการทำบทบาทของตัวเองให้ดีที่สุด
-การให้ "เกียรติ" โดยการรู้มารยาท
-การคืน "ธรรมชาติ" โดยตอบแทนธรรมชาติทุกครั้ง
-การให้ "ความเข้าใจ" เอาใจเขามาใส่ใจเรา
-การทำตาม "กฎระเบียบ" ในสังคมที่ควรทำตาม
-การให้ "ความเคารพ" แก่บุคคลที่ควรเคารพ

แหล่งที่มา 
หนังสือเรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
เรียบเรียงโดย ณัทธนัท เลี่ยวไพโรจน์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิขาการ (พว.)


ผู้สรุปเนื้อหาในเว็บไซต์
 - DogSeeker Unlimited -